วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดท้ายบท
1.  ธาตุสมมติ M   N   O   P   Q   R   S และ  T  เป็นธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันของตารางธาตุเรียงลำดับจากหมู่ IA ถึง VIIIA ตามลำดับ
                  ก.  ธาตุใดควรมีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ต่ำที่สุด
                  ข.  ธาตุใดควรมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด
                  ค.  ธาตุใดรวมกับคลอรีนได้สารประกอบที่มีสูตร displaystyle XCl_3   (เมื่อ X แทนสัญลักษณ์ของธาตุ)
                  ง.  ออกไซด์ของธาตุใดเมื่อละลายน้ำแล้วสารละลายจะมีสมบัติเป็นเบส
                  จ.  คลอไรด์ของธาตุใดเมื่อหลอมเหลวแล้วนำไฟฟ้าได้

2.  คอลไรด์ต่อไปนี้  RbCI LiCI และ  NCl_3   ชนิดใดควรมีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด เพราะเหตุใด

3.  สารประกอบออกไซด์ต่อไปนี้ B_2 O_3   CO_2  BeO  SiO_2   Al_2 O_3   และCl_2 O   เมื่อละลายน้ำ สารละลายของออกไซด์ชนิดใดจะแสดงสมบัติเป็นกรด

4.  ออกซิเจนกับกำมะถันเป็นธาตุหมู่ VIA อยู่ในคาบที่  2  และคาบที่ 3  ตามลำดับเหตุใดจุดหลอมเหลวของธาตุคู่นี้จึงแตกต่างกันมาก

5.  เพราะเหตุใดธาตุซิลิคอนจึงมีจุดหลอมเหลวสูงเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับธาตุอื่นในคาบเดียวกัน

6.  ธาตุ X ทำปฏิกิริยากับน้ำร้อน ได้สารประกอบไฮดรอกไซด์กับแก๊สไฮโดรเจน ดังสมการ
                   X(s) + 2H_2 O(1) \to X(OH)_2 (aq)+H_2(g)
                  ก.  ธาตุ X ควรอยู่ในหมู่ใดของตารางธาตุ
                  ข.  สารละลายของdisplaystyle X(OH)_2ประกอบด้วยไอออนอะไรบ้าง
                  ค.  ธาตุ X ในสถานะของแข็งนำไฟฟ้าหรือไม่

7.  ธาตุ A ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเกิดสารประกอบมีสูตร HA เมื่อละลายน้ำสารละลายมีสมบัติเป็นกรด
                  ก.  ธาตุ A ควรอยู่ในหมู่ใดของตารางธาตุ
                  ข.  สารละลายของ HA นำไฟฟ้าได้หรือไม่ ถ้านำไฟฟ้าได้ สารละลายควรประกอบด้วยไอออนใดบ้าง

8.  เหตุใดจึงจัดให้ธาตุไฮโดรเจนอยู่ตรงตำแหน่งระหว่างหมู่ IA กับหมู่ VIIA ของตารางธาตุคาบที่ 1

9.  ให้นักเรียนทำนายสมบัติต่อไปนี้ของธาตุ A ซึ่งมีเลขอะตอม 56
                  ก.  ธาตุ A อยู่ในหมู่ใดและคาบใดในตารางธาตุ
                  ข.  ธาตุ A ควรจัดเก็บโลหะหรืออโลหะ
                  ค.  ธาตุ A ควรมีสมบัติทางกายภาพเป็นอย่างไร
                  ง.  สารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A ควรมีสูตรและสมบัติเป็นอย่างไร
                  จ.  สารประกอบออกไซด์ของธาตุ A ควรมีสูตรและสมบัติเป็นอย่างไร


จงตอบคำถามต่อไปนี้
                  ก.  M เป็นธาตุแทรนซิชันหรือไม่
                  ข.  การทดลองในข้อใดที่สนับสนุนคำตอบของข้อ ก.

10.  ธาตุ P และธาตุ Q ควรอยู่ตรงตำแหน่งใดในตารางธาตุ ถ้าสมบัติบางประการของธาตุ P และ Q เป็นดังนี้
ธาตุ P
                  -  เป็นของแข็งเนื้ออ่อนที่ใช้มีดตัดได้
                  -  ลอยบนผิวน้ำ
                  -  มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 100 ^\circ C
                  -  เกิดสารประกอบไฮไดรด์ มีสูตร PH และเป็นสารประกอบไอออนิก

ธาตุ Q 
                  -  มีความหนาแน่นมากกว่า 7 g/cm^3
                  -  มีจุดหลอมเหลว> 1500 ^\circ C
                  -  เกิดสารประกอบออกไซด์ มีสูตรเป็น QO  Q_2 O_3 QO_3   
ธาตุเรเดียม
                เป็นธาตุกัมมันตรังสี เตรียมจากกระบวนการแยกสลายสารประกอบแฮไลด์ของเรเดียมด้วยไฟฟ้าโดยใช้ปรอทเป็นขั้ว ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Ra-226 การสลายตัวของเรเดียมจะให้รังสีแกมมาซึ่งใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ธาตุนี้เรืองแสงได้ในที่มืด อ่านเพิ่มเติม

ธาตุสังกะสี
                 พบในเปลือกโลกประมาณ 0.01% โดยมวล พบในรูปของแร่หลายชนิดคือ แร่สฟาเลอไรต์หรือซิงค์เบลน (ZnS) แร่เฮมิมอร์ไฟต์ [Zn_4 (Si_2 O_7 )(OH)_2 H_2 O]แร่สมิทโซไนต์  ZnCO_3   สังกะสีเตรียมได้โดยนำแร่มาเผาในอากาศเพื่อเปลี่ยนซัลไฟด์เป็นออกไซด์แล้วรีดิวซ์ออกไซด์ด้วยถ่านโค้กที่อุณหภูมิสูง จะได้ไอของสังกะสี เมื่อผ่านการควบแน่นจะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง สังกะสีเป็นโลหะค่อนข้างอ่อนมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ          อ่านเพิ่มเติม
ธาตุซิลิคอน
พบในเปลือกโลกประมาณ 25.67% โดยมวล มีปริมาณมากเป็นที่สองรองจากออกซิเจนพบในแร่ควอตซ์และทรายในรูปของซิลิคอนไดออกไซด์(SiO_2)   ที่เรียกว่าซิลิกาและในรูปสารประกอบซิลิเกต ซิลิคอนเตรียมได้จากการรีดิวซ์SiO_2   ด้วยถ่านโค้ก (C) อ่านเพิ่มเติม


ธาตุฟอสฟอรัส
                     พบอยู่ในรูปของสารประกอบ ส่วนใหญ่เป็นแร่หินฟอสเฟต เช่น แคลเซียมฟอสแฟต[Ca_3(PO_4)_2]   ฟลูออโรอะปาไตต์[Ca_5 F(PO_4)_3]   ฟอสฟอรัสเตรียมจากการเผาแร่หินฟอสเฟตกับซิลิกาและถ่านโค้กที่อุณหภูมิสูงประมาณ ^\circ Cจะได้ไอฟอสฟอรัสออกมา ฟอสฟอรัสมีหลายรูปเช่น อ่านเพิ่มเติม

ธาตุออกซิเจน

                 พบในเปลือกโลกในปริมาณมากที่สุดประมาณ 49.5% โดยมวล พบในธรรมชาติทั้งในสภาพอิสระและในรูปสารประกอบออกซิเจนในอากาศมีประมาณ 21% โดย ปริมาตร และเป็นองค์ประกอบในสารอาหารจำนวนมาก เช่น น้ำตาล แป้ง และไขมัน ในทางอุตสาหกรรมจะผลิตออกซิเจนจากอากาศเหลว อ่านเพิ่มเติม


ธาตุไนโตรเจน
                     พบมากทั้งในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในอากาศมีแก๊สไนโตรเจนอิสระประมาณ 78% การแยกแก๊สไนโตรเจนออกจากอากาศทำได้โดยทำอากาศให้เป็นของเหลวแล้วนำไปกลั่นลำดับส่วน จะได้ไนโตรเจนเหลวออกมา ไนโตรเจนเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ที่อุณหภูมิปกติไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น(ยกเว้นลิเทียม) อ่านเพิ่มเติม